วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ในคำสอนของขงจื๊อ

ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ในคำสอนของขงจื๊อ
ผู้เขียน นางสาวอนุพันธ์ สุทธยากร
ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ปรัชญา)
คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์ ดร. วิโรจน์ อินทนนท์ ประธานกรรมการ
อาจารย์ ดร. สมหวัง แก้วสุฟอง กรรมการ
อาจารย์ Dr. Christopher A. Fisher กรรมการ
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ในคำสอนของขงจื๊อ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมาย ลักษณะ ประเภท และคุณค่าของความสัมพันธ์ในคำสอนของขงจื๊อ โดยศึกษาจากเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับคำสอนของขงจื๊อ ผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ในคำสอนของขงจื๊อ ที่จัดเป็นระเบียบของความสัมพันธ์ทางสังคม 5 คู่นั้น มีความหมายโดยนัยที่สำคัญ คือ วิถีแห่งธรรมชาติที่เป็นการกระทำตามหน้าที่ และเป็นสิ่งเดียวกับธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์สามารถปลื้มปิติในธรรมชาตินี้ได้เรียกว่ามีคุณธรรม ซึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงให้ความสัมพันธ์ราบรื่น เกิดความสงบ ความปลื้มปิติเกิดจากความศรัทธาในตัวอย่างที่ดีของบรรพบุรุษและผู้นำ ลักษณะสำคัญของความสัมพันธ์คือ ลักษณะที่เป็นคุณสมบัติภายในของปัจเจกทั้งในฐานะผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ที่สอดคล้องกันระหว่างการขัดเกลากับการควบคุมตนเองให้เป็นผู้มีคุณธรรมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพภายนอก ที่เป็นจุดมุ่งหมายของชุมชนหรือสังคมและ มีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่สันติสุขร่วมกัน ประเภทของความสัมพันธ์อยู่ในรูปแบบการปฏิบัติหน้าที่ต่อตนเองและต่อผู้อื่น ตามความเหมาะสมกับสถานะและบทบาท ภายในขอบเขตของหลักจริยธรรมตามจารีตจัดเป็น 2 ประเภทได้แก่
1). ความสัมพันธ์แนวดิ่ง ที่แบ่งช่วงชั้นสูง-ต่ำ และ ลำดับอาวุโสก่อน-หลังเชื่อมโยงกันด้วยความจงรักภักดีและอำนาจของบารมี คือ สัมพันธภาพระหว่าง บิดา-มารดากับบุตรผูกพันกันด้วยความเคารพรักและกตัญญู ระหว่างพี่หรือผู้อาวุโสสูงกว่ากับน้องหรือผู้อาวุโสต่ำกว่าผูกพันกันด้วยความเคารพนับถือ ระหว่างผู้ปกครองกับประชาชนผูกพันกันด้วยการเคารพและเชื่อฟัง
2). ความสัมพันธ์แนวราบที่เสมอกัน เชื่อมโยงกันด้วยความไว้วางใจ คือ สัมพันธภาพระหว่างสามีกับภรรยาผูกพันกันด้วยความซื่อสัตย์ ระหว่างเพื่อนกับเพื่อนผูกพันกันด้วยความจริงใจ นอกจากนี้การปฏิบัติหน้าที่ต่อกันจัดอยู่ในประเภทมุ่งผลตอบแทนซึ่งกันและกันแบบสมดุลทั้งด้านกาย จิต และสังคม ยกเว้นความสัมพันธ์ระหว่างบิดา-มารดากับบุตรเป็นแบบไม่มุ่งผลตอบแทนคุณค่าของความสัมพันธ์อยู่ที่ การปลูกฝังวินัยและคุณธรรมของปัจเจกชนให้เป็นผู้ตระหนักในการกระทำหน้าที่ที่มีต่อตนเอง และ ผู้อื่นในสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักจริยธรรมปัจจุบันความสัมพันธ์ในสังคมแปรปรวน และผูกพันกันด้วยวัตถุ จนเป็นสาเหตุของปัญหาสังคม การนำคุณค่าของความสัมพันธ์ทางสังคมในคำสอนของขงจื๊อมาประยุกต์ใช้เพื่อให้สมาชิก ในสังคมเกิดการยอมรับและกระทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับบทบาท โดยเริ่มที่ภายในครอบครัว จะมีส่วนช่วยลดปัญหาสังคม ที่เกิดจากความสัมพันธ์ภายในครอบครัวบกพร่องได้เพราะความเข้าใจและยอมรับในธรรมชาติของความสัมพันธ์นี้ได้ ย่อมไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันแต่จะเกิดประโยชน์ต่อความเป็นเอกภาพของสังคม และยังเอื้อต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรมอีกด้วย

Thesis Title An Analysis of Concept of the Relationships in Confucius’ Teachings
Author Miss Anupahn Sudthayakorn
Degree Master of Arts (Philosophy)
Thesis Advisory Committee Lecturer Dr. Viroj Inthanon Chairperson
Lecturer Dr. Somwang Kawesufong Member
Lecturer Dr. Christopher A Fisher Member
ABSTRACT
The objective of the thesis entitled “An Analysis of the Relationships in Confucius’ Teaching” is to analyse the meaning, characteristic, classification and the value of relationship in Confucius’ teaching. Methodology is a documentary research. From the study it was found that the meaning of the relationship, which becomes social order expressing in 5 pairs, is the way of performing one’s duty naturally. This is the essences of human being. Human who pleased with this is called the virtue person. This kind of virtue provide the smooth relationship leading to peace and delight. It is inspired by good example performed by ancestors or a leader. Its characteristic is inward qualification pertaining in each individual which playing the role of both subject and object, which mediating between the self- polishing and the self - control of which will be displayed to the outward environment, aiming at bringing about peace andhappiness to the society. Its classification can be divided into 2 categories.
1) verticular relationship. This kind of relationship is divide into high – low level, according to the order of seniority, with connection to royalty, power and inflame. They are relationships between parents and chidren bound up by respect, love and gradtitude. The relationship between elder and yonger of brothernity, which bound up by respect. Between the ruler and their subjects bound up by respect and royalty
2) Horizontal relationship. The equal relationship between people in the same status, bound up with the threat. They are the relationship between husband and wife bound up with honest. Between friends with sincerity. All kind of relationships proceed with having some expectation except the relation between parents and children Its value is at cultivation of discipline and virtue in each individual, making them aware of one’s duty to be done to oneself and others in society appropriately. At the present, the relationship in society have been changed, bound up withmaterials, resulting in the upheaval to the society. To apply the relationship in Confucius’ teaching in our society, making it acceptable and practisiting it accordingly, first fromeach family cycle will solve the conflict, make society united, and will provide a great contribution to the study of history, politics, religion and cultures.
(มีต่อ)ศาสนาที่ยังไม่ตาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แก่ความรู้ ไม่ใช้แก่เพราะอยู่นาน หรือไม่ใช่แก่เพราะกินข้าว ไม่ใช่เฒ่าเพราะ อยู่นาน